รสนิยมเป็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ง่ายนัก แต่ก็เปลี่ยนแปลงตลอด ลิ้นในฐานะอวัยวะ
หนึ่งของการรับรสของมนุษย์ถือได้ว่ามีความเป็นอนุรักษนิยมสูง อาหารแบบกินแล้วมี
ความสุข (comfort food) อันเป็นอาหารที่คุ้นเคยแต่เด็กๆ นั้นเป็นอะไรที่ผู้คนมักจะโหย
หา การกินกับอุดมการณ์ทางการเมืองจึงเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันวิถีชีวิตประจำวันที่คุ้น
เคยไม่จำเป็นต้องมีอะไรที่แปลกใหม่ แต่ก็ใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้
-คำนิยม ธเนศ วงศ์ยานนาวา-
การต่อสู้และต่อรองความหมายทางการเมืองด้านรสชาติถูกแฝง ไปยังปลายลิ้น หากกลุ่ม
ใดในสังคมสามารถครองอำนาจนำที่ปลายลิ้นได้ ก็ย่อมสามารถครองอำนาจทางการเมือง
วัฒนธรรมในระดับมวลได้เช่นกัน
หลังการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ คณะราษฎรได้นำแนวคิดโภชนาการใหม่เข้ามาปะทะประสาน
กับการเมืองสมัยใหม่ ผลักดันให้ประชาชนหันมาใส่ใจกับการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพมาก
ยิ่งขึ้น ทั้งการส่งเสริมอาชีพและอุตสาหกรรมด้านอาหาร ความสำเร็จของการปฏิวัติที่ปลาย
ลิ้นยังได้นำไปสู่กระบวนการช่วงชิงความหมายและสร้างนิยามมาตรฐานด้านรสชาติอาหาร
ใหม่อีกครั้งของกลุ่มชนชั้นสูงในเวลาต่อมา
ชวนลิ้มลองรสชาติของการปฏิวัติที่ปลายลิ้น ปรับรสปรุงแต่งสู่การกินแบบประชาธิปไตย
Barcode | Title of Copy | Location | Status | |
---|---|---|---|---|
0000036037 | ปฏิวัติที่ปลายลิ้น ปรับรสแต่งชาติ อาหารการกินในสังคมไทย หลัง 2475 | HO | On Shelf | Login |
MARC Information