หนังสือเล่มนี้รวบรวมบทบันทึกความคิดประชาธิปไตยไทยตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ผ่านเอกสารประวัติศาสตร์ต้นธารปฏิวัติสยาม ตั้งแต่คำกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ. 103 สมัยรัชกาลที่ 5 โดย พระองค์เจ้าปฤษฎางค์และคณะ, "ว่าด้วยความฝันละเมอแต่มิใช่นอนหลับ" โดย เทียนวรรณ, "ว่าด้วยความเสื่อมซามแลความเจรีญของประเทศ" โดย ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) หัวหน้าคณะ ร.ศ. 130, "มนุษยภาพ" โดย กุหลาบ สายประดิษฐ์ จนถึงประกาศคณะราษฎร 24 มิถุนายน 2475 ที่เชื่อกันว่าปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้เขียน
มิติของ "ความใฝ่ฝัน" เป็นลักษณะความคิดทางการเมืองของคนข้างล่างที่มองออกไปยังอนาคตกาล…
บัดนี้คนรุ่นใหม่ได้ข้อสรุปใหม่ของพวกเขาแล้วว่า ประชาชนสามารถลุกขึ้นเปลี่ยนแปลงรัฐบาลและระบอบการปกครองได้เอง ความเชื่อดังกล่าวไม่ใช่เป็นเพียงความเพ้อฝัน หากแต่คนเหล่านั้นเชื่อจริงๆ ว่า การปฏิวัติสังคมอยู่ในมือของราษฎรแล้ว และสามารถทำได้ บรรลุความสำเร็จได้ ไม่ใช่เป็นเพียงคำทำนายดังกาลก่อนด้วย
ลักษณะเด่นของความคิดทางการเมืองสมัยใหม่แบบประชาธิปไตยเหล่านี้จึงอยู่ที่พลังแห่งการปลดปล่อย ไม่ใช่อำนาจศักดิ์สิทธิ์แบบเก่าที่ยิ่งทำให้คนงมงายและยอมตนเป็นข้าทาสคนชั้นสูงอย่างโงหัวไม่ขึ้น ตรงกันข้าม ความคิดและอุดมการณ์แบบประชาธิปไตย เน้นหนักให้ความสำคัญแก่ความเป็นปัจเจกบุคคล ความเป็นตัวของตัวเอง หรือความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งสากลอันมนุษย์ทุกหนทุกแห่งล้วนปรารถนาและดิ้นรนเพื่อไปสู่จุดหมายนี้
ในทางปฏิบัติหมายความว่า ความคิดประชาธิปไตยส่งเสริมสนับสนุนให้มนุษย์มีอำนาจในการปกครองเหนือตัวเองและชุมชนของพวกตนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีใครเป็นเจ้านายและบ่าวไพร่อีกต่อไป ทุกคนต่างเป็นพลเมืองแห่งรัฐชาติสมัยใหม่ที่เสมอหน้ากันนั่นเอง
Barcode | Title of Copy | Location | Status | |
---|---|---|---|---|
0000035822 | สยามปฏิวัติ : จาก 'ฝันละเมอ' สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สู่อภิวัฒน์สยาม 2475 | HO | Borrowed | Login |
MARC Information