ความหมายของคำว่า “อาชญากรรม (Crime)” นั้นหมายถึงการทำความผิดซึ่งสมควรได้รับโทษ คือความผิดต่อหลักจริยธรรม ความผิดต่อกฎระเบียบของสังคมที่ถูกตราขึ้นเพื่อต้องการให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ก่ออาชญากรรมนั้นก็เพราะต้องการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้มีชีวิตมีชีวิตอยู่รอด น้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ที่ทำลงไปโดยมี “จิตใจอาชญากร (Criminal Mind)” หรือมีจิตสำนึกในการก่ออาชญากรรมอยู่ในพื้นนิสัย แต่ถึงแม้จะมีจิตใจอาชญากรหรือเป็นอาชญากรเพราะความจำเป็นก็ตาม ทั้งหมดก็เป็นสิ่งผิดกฎหมายที่จะต้องได้รับโทษเหมือนๆ กัน เพียงแต่โทษที่ได้รับจะหนักหรือเบานั้นก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาชญากรรมที่ก่อนั่นเอง
แต่มีคดีอยู่อีกจำนวนมากกลับไม่สามารถจะจับกุมผู้กระทำผิดมารับโทษได้ หรือแม้แต่กรณีการก่อเหตุฆาตกรรมหลายๆ คดีก็เช่นกัน ฆาตกรก็ยังคงรอดมือกฎหมายไปได้ และยังคงลอยนวลไปได้แม้เวลาจะผ่านไปนับเป็นสิบๆ ปีแล้วก็ตาม จนกลายเป็นคดีแช่แข็งที่ปิดไม่ลงที่บางคดีถูกแช่แข็งมาเป็นเวลากว่าศตวรรษแล้วก็มี ในจำนวนนั้นมีอยู่หลายคดีที่อยู่ในความสนใจของผู้คนตลอดมา
1.กรณีประหารชีวิต โซเครติส ปราชญ์กรีกชื่อกระฉ่อนโลก
2.กรณีสิ้นพระชนม์ของจิ๋นซีฮ่องเต้
3.กรณีการสมคบคิดกันรุมฆาตกรรมจูเลียส ซีซาร์
4.กรณีปลิดชีพตนเองของพระนางคลีโอพัตรา
5.กรณีรุมสังหาร ไฮปาเทีย ปราชญ์แห่งอเล็กซานเดรีย
6.กรณีหายสาบสูญของสองเจ้าชายในหอคอย
7.กรณีสำเร็จโทษ แอนน์ โบลีน ราชินีองค์ที่ 2 ของ เฮนรี ที่ 8
8.กรณีประหารพระชนม์ชีพ แมรี ราชินีแห่งสกอต
9.กรณีประหาร เบียทริซ เซนซี หญิงสาวผู้น่าเวทนา
10.กรณีประหาร กาย ฟอคส์ อาชญากรหรือวีรบุรุษ?
Barcode | Title of Copy | Location | Status | |
---|---|---|---|---|
0000035596 | กรณีกระฉ่อนโลกในอดีต | HO | On Shelf | Login |
MARC Information